Vietnam deutsch 中文 한국어 日本語
 

 

Japan Planology Society

 

International Mentorship Association

 

Central Japan Industries Association

 
Japan Industrial Management Association
 
National Chamber of Agriculture
 

Japanese Association for Choice Therapy

 
 
 
 
 
 
 

Chukyo University

23-27 สิงหาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยชูเกียว นาโกยา ประเทศญี่ปุ่น


วามมุ่งหมายของการประชุมนานาชาติเรื่องการคิดในยุคปั่นป่วน

 ในอนาคตที่ไม่อาจทำนายได้ เราเผ่าพันธุ์มนุษย์กำลังเผชิญกับปัญหาสารพัดที่เราไม่เคยพบมาก่อน และเราจะประสบกับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหวนกลับในศตวรรษที่ 21 หากไม่เปลี่ยนฐานการคิดใหม่ บัดนี้เราได้เห็นแล้วว่าวิธีดั้งเดิมของการคิดแบบถดถอยซึ่งเน้นข้อมูลจากอดีตและปัจจุบันเพื่อวิเคราะห์อนาคตนั้นไม่มีประโยชน์ เนื่องจากไม่อาจประกันการพยากรณ์อนาคตได้จากกรณีศึกษาแฃะการวิเคราะห์อดีตอย่างละเอียด ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาอินเตอร์เน็ต ยังทำให้มนุษย์เข้าสู่วังวนใหม่ ฝังตัวเองในกระแสธารของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปรากฏการณ์ “ข่าวสารเกินจำเป็น” นี้เป็นสาเหตุของการขาดระเบียบในชีวิตประจำวัน และทำลายการแบ่งปันคุณค่าความเป็นมนุษย์
 เรากำลังอยู่ในยุคเรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรกับการใช้องค์ความรู้ ข่าวสารส่วนขยายจากความรู้ และสังคมข่าวสาร อย่างไรก็ดีหากคำนึงถึงข่าวสารและองค์ความรู้ “การคิดในอนาคต” ยังคงพึ่งพาความคิด มโนทัศน์ ที่มาจากอดีตและปัจจุบันอยู่ เผ่าพันธุ์มนุษย์ยังไม่ได้ถูกปลดปล่อยจาก “การคิดแบบถดถอย” ซึ่งเป็นรากฐานของการคิดเชิงเลขฐาน 0-1 ที่เฟื่องฟูในยุคข่าวสาร ยิ่งไปกว่านั้นมนุษย์ยังแบ่งแยกและลดทอนเหตุการณ์ทั้งหลายอย่างไม่รู้ตัว การแบ่งและลดทอนนี้เป็นต้นเหตุใหญ่ของปัญหาที่แก้ไม่ได้ การเสื่อมถอยของมนุษยชาติมีสาเหตุมาจากการแบ่งเป็นเลขย่อยนั่นเองที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและอาชญากรรมในทุกวันนี้
 การประชุมนานาชาติครั้งที่สองนี้ ตั้งอยู่บนแนวคิดที่เรียกว่า “การคิดผ่าทางตัน” อาศัยการคิดในแนวใหม่นี้เราสามารถเรียนรู้การสร้างคำตอบในอนาคตด้วย “การคิดแบบบูรณาการ“ ซึ่งเป็นการคิดที่คำนึงถึงองค์รวมและความสัมพันธ์เป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างคำตอบ การประชุมนานาชาติครั้งที่สองนี้ มุ่งเป้าหมายไปที่อนาคตของการพัฒนามนุษย์โดยอาศัยผู้คนจากหลากหลายด้าน ด้วยเข็มมุ่งไปที่การคิดสำหรับศตวรรษที่ 21 นั่นคือ “การคิดแบบผ่าทางตัน” เพื่อรับมือกับ “ยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างปั่นป่วน”ปั่นป่วน”  

แนวทางมากิซูชิ – มโนทัศน์ของการประชุมนานาชาติครั้งที่สอง

1. ผู้เข้าร่วมประชุม:- นักเศรษฐศาสตร์ ผู้บริหาร วิศวกร นักวิชาการ นักธุรกิจ เกษตรกร นักการเมือง นักศึกษา แม่บ้าน เจ้าของภัตตาคาร ครู นักปรัชญา ฯลฯ บุคคลทั่ไป กลุ่มคนจากทุกสาขาจะมาร่วมงาน
2. แนวทางมากิซูชิ:- (ซูชิ คือส่านประกอบที่มีรสชาดต่าง ๆ ห่อเป็นม้วนเข้ากันด้วยแผ่นสาหร่าย) แต่ละกลุ่มที่เข้าร่วมจะวางแผนและการดำเนินการประ ชุมเป็นอิสระ อย่างไรก็ดีแนวคิดพื้นฐานของการประชุมครั้งนี้มุ่งไปที่การร่วมกันเปิดการประชุม กล่าวคือการรวมความคิดและการร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่จำเป็น เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีการประชุมร่วมกันครั้งสุดท้ายในลักษณะข้ามกลุ่มหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมอย่างเป็นอิสระของแต่ละกลุ่มแล้ว   การม้วนรวมความคิดตามแนวทาง “มากิซูชิ” เข้าด้วยกันจะพัฒนากระบวนการสร้างคำตอบใหม่     ยกตัวอย่างการรวมความคิดแต่ละอย่าง   หรือคำตอบที่เป็นแนวทางใหม่ เช่น ภัตตาคารเป็นความร่วมมือระหว่างการเกษตรและอุตสาหกรรมเป็นต้น   การคิดรวมเช่นการควบคุมทางการแพทย์และสุขภาพ   การบริหารภาครัฐและการจัดการทางธุรกิจ เหล่านี้จะเป็นเป้าหมายสุดท้ายของเรา   การคิดลักษณนี้จะสร้างระบบการผลิตใหม่แบบไร้พรมแดน  ธุรกิจใหม่ที่มีการพบกันระหว่างนักธุรกิจและนักวิชาการ  ระบบาศรษฐกิจใหม่ของความดีงาม การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์และจิตวิทยาข่าวสาร ก็จะถูกสร้างขึ้นมาด้วยกันในระยะยาว

     

กำหนดการประชุม

 
จันทร์
23 สิงหาคม
09:30-17:00 การประชุมเชิงปฏิบัติการ
อังคาร
24 สิงหาคม
09:30-16:30 การประชุมเชิงปฏิบัติการ
รายการพิเศษ: ชมโรงงานโตโยต้า มหาวิทยาลัยชูเกียว เมืองนาโกย่า
พุธ
25 สิงหาคม
 
การประชุมช่วงเช้า ปาฐกถานำ
 (1) “การคิดผ่าทางตันในศตวรรษที่ 21” ศ. จี แนดเลอร์ และ ศ. เอส ฮิบิโน
 (2)““ปรัชญาบูรณาการ” โดย ศ. เอ็ม โยชิกาวา
การประชุมบ่าย
เปิดการประชุมร่วม มากิซูชิ
การบรรยายพิเศษ นำเสนองานวิจัยและกรณีศึกษา
  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ การควบคุมคุณภาพ การศึกษา ภาวะผู้นำ การปรึกษา รัฐบาล การเกษตร การสร้างสรรและนวัตกรรม วิกฤติเศรษฐกิจและความมั่นคง ฯลฯ
งานเลี้ยงต้อนรับ
พฤหัสบดี
26 สิงหาคม
การประชุมเช้าและบ่าย
เปิดการประชุมร่วม มากิซูชิ
 การบรรยายพิเศษ นำเสนองานวิจัยและกรณีศึกษาเช่นเดียวกับข้างบน
วันศุกร์ที่
27 สิงหาคม
การประชุมช่วงเช้า 
การประชุมร่วม มากิซูชิ
 การบรรยายพิเศษ นำเสนองานวิจัยและกรณีศึกษาเช่นเดียวกับข้างบน
การประชุมบ่าย เปิดการประชุมร่วมมากิซูช
 การประชุมบูรณาการรวม และการประกาศผลการประชุมนานาชาติ

งานเลี้ยงอำลา


เชิญชวนส่งบทความ   

 บทความที่มีคุณภาพจะได้รับเชิญให้นำเสนอ กรุณาส่งบทคัดย่อที่สำนักงานจัดการประชุม จะต้องส่งบทความไม่ช้าไปกว่าวันที่ 25 ธันวาคม 2552 และวันสุดท้ายของการลงทะเบียนล่วงหน้าคือวันที่ 31 เมษายน 2553

 การประชุม (3 วัน) 15,000 เยน  ● ลงทะเบียนล่วงหน้า มีส่วนลด (3 วัน) 12,000 เยน
 การประชุม (1 วัน) 6,000  เยน

การปาฐกถานำ

ดร. เจอรัลด์ แนดเลอร์

ศาสตราจารย์ภิชาน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้

ดร. โชโซ ฮิบิโน

ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยชูเกียว

ดร. มูนีโอ เจ โยชิกาวา

ศาสตราจารย์ภืชาน มหาวิทยาลัยฮาวาย (วิทยาลัยชุมชนคานัวอิ)

 ศาสตราจารย์เจอรัลด์ แนดเลอร์ เป็นประธานอาวุโสไอบีเอ็ม ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และศาสตราจารย์กิตติคุณของวิศวกรรรมอุตสาหการและระบบ ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าภาควิชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 จนถึง 2536 เขายังเป็นผู้บริหารศูนย์วิจัยวิศวกรรมการจัดการและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้อีกด้วย เขาให้การ ปรึกษา การสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการในทุกส่วนของโลก ดร.แนดเลอร์ได้เขียนบทความตีพิมพ์กว่า 225 เรื่องและหนังสือ 15 เล่ม ผลงานหลายฉลับบได้รับการแปลถึงแปดภาษา เขาได้รับเชิญไปบรรยายพิเศษกว่า 800 ครั้งในมหาวิทยาลัย บริษัท และการประชุมระดับชาติและนานาชาติ และยังได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์พิเศษใน 5 มกาวิทยาลัยทั่วโลก

 

 ศาสตราจารย์โชโซ ฮิบิโน ได้ให้กำเนิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการคิดร่วมกับ ดร. เจอรัลด์ แนดเลอร์ และได้ส่งเสริมกระยวนทัศน์ในการคิดใหม่นี้ในโลกยุคปั่นป่วนของศตวรรษที่ 21

การคิดผ่าทางตัน” ไม่เพียงแต่เป็นวิธีการเท่านั้นแต่เป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในแนวทางการคิดใหม่ต่อปัญหาและการสร้างคำตอบ กระบวนทัศน์นี้รวมปรัชญา แนวทาง เครื่องมือ และข้อเสนอต่อกรอบการสร้างคำตอบรวม โดยมุ่งที่จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ปัจจุบันของการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ยุคเดส์คาร์ต กว่า 350 ปีที่แล้ว ในขณะนี้การคิดผ่าทางตันได้แพร่ขยายไปทั่วโลก

 ศาสตราจารย์มูนีโอ เจ โยชิกาวา และศาสตราจารย์โชโซ ฮิบิโน ได้พัฒนางานวิจัยร่วมกันในเรื่อง “ปรัชญาบูรณาการ” สำหรับยุคปั่นป่วนของศควรรษที่ 21 ทฤษฎี “โมไบดัส” ซึ่งเสนอโดย ดร.โยชิกาวา เป็นพี้นฐานของปรัชญานี้ “การคิดผ่าทางตัน” ก็พิจารณาได้ในรูปการคิดแบบบูรณาการ การมองทั้งสองแบบของบูรณาการที่ทำให้ก้าวหน้าโดย ดร.โยชิกาวา และ ดร.ฮิบิโน รวมทั้ง ดร.แนดเลอร์ ขะนำมาเสนอและขยายความในการประชุมครั้งนี้ ก้วยจุดมุ่งหมายที่จะก่อตั้งปรัชญาบูรณาการชนิดใหม่

 

(c) 2009 All right reserved by the Steering Committee of the 2nd World Congress